วันจันทร์ที่ 9 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2558

มารยาทและประเพณีการดื่มชาของอังกฤษ

ประเพณีการดื่มชาของอังกฤษ

มารยาททางสังคมของชาวอังกฤษ
เมื่อคุณได้มีโอกาสไปศึกษาต่อในประเทศอังกฤษ สิ่งแรกที่คุณต้องพบเจออย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ คือ การเข้าสังคม แต่การเข้าสังคมนี้ หมายถึงการเข้าสังคมโดยทั่วไป เริ่มตั้งแต่วันแรกที่คุณเข้าไปเรียนในมหาวิทยาลัย

มารยาททางสังคม : การพบปะและทักทาย

       
มารยาททางสังคมเริ่มจากเมื่อแรกพบ คนอังกฤษเมื่อพบกันจะใช้วิธียื่นมือขวาจับกันและเขย่ามือเล็กน้อย พร้อมพูด How do you do? หรือ Nice (Please) to meet you, my name is... ซึ่งอีกฝ่ายควรพูดตอบเช่นกัน จากนั้นเริ่มบทสนทนาด้วยเรื่องที่เกี่ยวข้องกับคนผู้นั้น เช่น หน้าที่การงาน สิ่งที่เขาเรียน สิ่งสวยงามในประเทศของเขา

    
สำหรับคนที่สนิทกัน ผู้ชายจะจับมือแล้วโน้มตัวใกล้กันคล้ายกอดแบบหลวมๆ ส่วนผู้หญิงกับผู้หญิง หรือผู้หญิงกับผู้ชาย กอดเบาๆ เอาแก้มซ้ายชนกันก่อนแก้มขวา ทำปากเหมือนจูบอากาศ หากต้องการหลีกเลี่ยงการกอด ให้รีบยื่นมือเป็นการแสดงความจำนงว่าขอจับมือทักทาย

ถ้าคนสองคนมีโอกาสได้พบกันได้บ่อยๆ ก็พูดคุยทักทายกันได้เลย คนที่อังกฤษชอบเริ่มด้วยเรื่องเกี่ยวกับดินฟ้าอากาศ เพราะอากาศเปลี่ยนแปลงบ่อยและมีผลกับชีวิตความเป็นอยู่ของผู้คนโดยตรง ส่วนการสนทนาต่อไป ก็ให้เข้าใจว่า คนส่วนใหญ่จะรู้สึกสบายๆ ที่จะพูดเรื่องใกล้ตัว เรื่องที่อยู่ในความสนใจ ความถนัด ความชอบ แต่พึงระวังว่า การถามต้องเป็นไปในลักษณะสุภาพ มีความพอดี ไม่เซ้าซี้ ซอกแซก ไม่ทำให้คู่สนทนารู้สึกอึดอัด ลำบากใจที่จะตอบ หรือคิดว่าเราเป็นพวกชอบสอดรู้สอดเห็น

ยามต้องจากลา ในการจบบทสนทนาและปลีกตัวไป ทุกครั้งควรใช้คำว่า Sorry หรือ Excuse me แล้วตามด้วยเหตุผลของการลาจาก เช่น I have to go... I have to จะทำให้บทลาจากนุ่มนวล ราบรื่น และจบบทสนทนาด้วย Nice talking to you., See you again., Take care, Bye bye โดยอาจพูดคำลาพร้อมกับจับมืออีกครั้ง (ผู้ชายกับผู้ชาย) ถ้าสนิทกันมากอาจโอบและตบไหล่ 2-3 ครั้ง หรือโอบกันแล้วแก้มชนแก้ม จูบอากาศซ้ายขวา ถ้าจะไม่ได้พบกันอีกเป็นเวลานาน แต่หากพบกันบ่อยแล้วอาจจะพบกันอีก พูดบอกลาเฉยๆ ก็เพียงพอ

คำสำคัญที่ควรพูดติดปากคือ Please, Thank you, Sorry, Excuse me ฯลฯ โดย Please เมื่อต้องการขอความช่วยเหลือ เช่น Can (May) I..., please? หรือ Thank you เมื่อได้รับความช่วยเหลือ หรือพูดประกอบคำขอความช่วยเหลือ เช่น Please, can you...? Thank you

หรือ I’m sorry สำหรับพูดขอโทษเมื่อชน หรือเหยียบเท้า ผู้พูดรู้สึกเสียใจที่เหตุการณ์นั้นเกิดขึ้น หรือทำไปโดยที่ไม่ได้คาดว่าผลจะเป็นเช่นนั้น หรือ Excuse me เมื่อต้องเรียกร้องขอความสนใจ จะเริ่มต้นถาม ขอร้องคนอื่น เช่น เวลาไปพบคุณครูแล้วคุณครูนั่งอ่านหนังสือ หรือทำงานอยู่ ควรพูดว่า Excuse me, May I ask you a question? ส่วน Pardon? Say again? Come again? Please หรือ Sorry? ใช้เมื่อต้องการให้คู่สนทนา พูดหรือถามซ้ำ

มารยาททางสังคม : มารยาทบนโต๊ะอาหาร


1. จานรอง
2. ผ้าเช็ดปาก
3.ช้อนซุป
4. มีดออเดิร์ฟ 
5.มีดหั่นปลา
6.มีดหั่นเนื้อ
7.ส้อมสำหรับทานเนื้อ
8.ส้อมสำหรับทานปลา
9.ส้อมสำหรับออเดิร์ฟ
10.จานใส่ขนมปัง
11.ช้อนกาแฟ
12.ส้อมสำหรับทานผลไม้
13.มีดหั่นผลไม้
14. ช้อนไอศครีม
15. ที่ทาเนย
16. มีดตัดเนย
17. จานรองเนย
18. แก้วใส่น้ำเปล่า
19. แก้วแชมเปญ
20. แก้วใส่ไวน์แดง
21. แก้วใส่ไวน์ขาว 
คนอังกฤษใช้ส้อมและมีดในการรับประทานอาหาร ใช้ช้อนสำหรับตักซุป ในลักษณะตักออกจากตัว ถือส้อมในมือซ้าย ถือมีดในมือขวา (ถ้าถนัดซ้ายก็กลับข้างได้) ใช้ส้อมจิ้มชิ้นอาหารที่ต้องการตัดและใช้มีดหั่นอาหารแบบสไลด์เป็นชิ้นเล็กออก ใช้ส้อมจิ้มอาหารใส่ปากโดยคว่ำส้อม (การหงายส้อมจิ้มอาหารเข้าปากเป็นกิริยาไม่สุภาพ) ห้ามใช้มีดจิ้มอาหารใส่ปากเป็นอันขาด จำเป็นหลักไว้เบื้องต้นว่า บนโต๊ะอาหาร จานวางขนมปังสำหรับเราจะอยู่ด้านซ้ายบน หากมีมีดส้อมเรียงกันอยู่มาก ให้หยิบใช้จากนอกเข้าหาใน (จากจานแรกไปจนจานสุดท้ายที่เสิร์ฟ) ช้อนส้อมมีดเล็กๆ ที่วางเหนือจานด้านบนใช้สำหรับกินของหวาน

มารยาททางสังคม : การรักษาเวลา


คนอังกฤษถือว่าการรักษาเวลาเป็นการให้เกียรติต่อกันที่สำคัญมากพอๆ กับการรักษาคำพูด ดังนั้น ในการใช้ชีวิตอยู่ร่วมกับครอบครัวชาวอังกฤษจำเป็นที่จะต้องแจ้งให้เขาทราบล่วงหน้าหากจะกลับช้า กลับไม่ทันเวลาอาหาร หรือจะไม่กินอาหาร ถ้ามีการนัดหมายต้องตรงเวลา ถ้าไม่สามารถไปได้ต้องแจ้งให้ผู้ถูกนัดหมายทราบทันที

มารยาททางสังคม : มารยาททั่วไปในการสนทนา
ถ้าไม่รู้ สงสัย ไม่แน่ใจ ขอให้ถาม เป็นเรื่องปกติ ไม่น่าอาย ไม่พูดภาษาไทยเสียงดังกันต่อหน้าคนอังกฤษ หากจำเป็นต้องพูด ให้ขออนุญาตก่อน และจะเป็นการดีถ้าได้อธิบายให้คนอังกฤษที่อยู่ในวงสนทนารู้ว่าได้พูดคุยกันในเรื่องอะไร และนักเรียนควรพยายามฝึกการโต้ตอบด้วยการฝึกตั้งคำถามกลับไว้ ไม่ต้องกังวลว่าจะพูดไม่ถูกต้อง ถ้าเราพูดผิด เขาจะช่วยแก้ไขให้เราเอง การพยายามพูดให้มากเข้าไว้จะช่วยให้ภาษาอังกฤษพัฒนาเร็วขึ้น อย่าเกรงใจที่จะใช้ Pardon? Sorry? หรือ Excuse me?


มารู้จักชาอังกฤษกันเถอะ!
ชาที่พวกเราเรียกกันว่า ชาฝรั่ง หรือ ชาอังกฤษ นั้นโดยทั่วไปอาจจะแบ่งได้ 2 ประเภท คือ
-Black Tea คือ ชาดำ ที่เป็นใบชาชนิดใดชนิดหนึ่งโดยเฉพาะ เช่น Darjeeling , Ceylon , Assam ฯลฯ
-Blend Tea คือ ชาที่นำเอาใบชาจากประเภทแรก มาผสมกัน ให้เป็นสูตรเฉพาะ หรือที่ภาษาฝรั่งเขาเรียกว่า การ Blend นั่นแหละครับ เช่น Earl Grey , Lady Grey , English Breakfast Tea ฯลฯ

เป็นชาที่มีชื่อเสียงอีกตัวหนึ่งของอินเดีย แหล่งเพาะปลูกอยู่ที่ เมืองดาร์จีลิง รัฐเบงกอลตะวันตก ประเทศอินเดีย ชานี้มีชื่อเสียงด้านความหอม เนื่องจากกลิ่นอันหอมละมุนคล้ายกลิ่นดอกไม้ รสชาติออกฝาดเล็กน้อย แต่กลมกล่อม  นักดื่มชาทั่วโลกจึงให้สมญานามว่าเป็น  แชมเปญแห่งชา (The Champagne of Teas)


ชาอัสสัม Assam Tea  เป็นชาจากรัฐอัสสัมของอินเดีย มีแหล่งเพราะปลูกอยู่บริเวณสองฟากฝั่งแม่น้ำพรหมบุตร รัฐอัสสัม มีพรมแดนติดกับ บังคลเทศ และ พม่า ถือเป็นพื้นที่ปลูกชาแหล่งใหญ่แห่งหนึ่งของโลก เนื่องด้วยอากาศและความชื้นที่เหมาะสม   ชาอัสสัมจะมีสีเข้ม รสชาติก็เข้มข้น จึงเหมาะสำหรับจะทำเป็นชานมที่สุด และนอกจากนั้นยังเป็นชาพื้นฐานที่สามารถนำมาผสมปรุงแต่ง (Blend) กับชาชนิดอื่นๆ อีกด้วย
ชาซีลอน Ceylon Tea
 ใบชาคือสินค้าส่งออกที่สำคัญของศรีลังกา ชาของศรีลังกา หรือ ชาซีลอนนั้น ขึ้นชื่อในเรื่องของสีอันสดใส ว่ากันว่า เป็นชาที่เมื่อผสมนมลงไปแล้ว จะได้น้ำชาสีทองสว่างสดใส สวยที่สุด ผิดกับชาจากแหล่งอื่นๆ ที่เมื่อผสมนมแล้วสีจะออกมาคล้ำๆ
ชาแดงฉีเหมิน Keemun red tea





ชาแดงฉีเหมิน หรือ ชาคีมุน นั้นมีแหล่งเพาะปลูกอยู่ที่ เมืองฉีเหมิน มณฑลอานฮุย สาธารณรัฐประชาชนจีน 
เป็นชาที่มีความหอม คล้ายกลิ่นกล้วยไม้ และ กลิ่นผลไม้ และมีความฝาดเพียงเล็กน้อย เป็นชาอีกชนิดหนึ่ง ที่ฝรั่งเขานำไปเป็นชาพื้นฐาน สำหรับผสมชาชนิดอื่นๆ










ชาเลปซาง ซูชอง Lapsang souchong Tea
เป็นชาที่ผ่านการอบแห้งแบบจีน ซึ่งเป็นการอบแห้งด้วยไม้สน จึงมีกลิ่นหอมอันเป็นเอกลักษณ์ ถือว่าเป็นชาที่มีชื่อ และได้รับความนิยมอย่างมาก เพราะเมื่ออังกฤษปลูกและผลิตชาได้เอง พยายาม ปรุงชา เพื่อเลียนแบบ แต่ไม่สำเร็จ ลองผิดลองถูก จนคิดว่าได้ชาทีมีกลิ่นใกล้เคียงที่สุด จึงตั้งชื่อชาที่ปรุงเลียนแบบนั้นว่า "Earl Grey Tea"
ตัวอย่างBlack Tea ยี่ห้อต่างๆ













     


     

 


BLEND TEA


ชาเอิร์ลเกรย์ (Earl Grey tea)



ชาเอิร์ลเกรย์ เป็นชาที่มีกลิ่นของน้ำมันหอมระเหยเบอร์กาม็อต กลิ่นดังกล่าว ก็คือกลิ่นมะกรูด นั่นเอง นอกจากนั้นยังใช้พืชตระกูลส้มอีกหลายชนิดมาเป็นส่วนผสมด้วย
ความหอมจากนำมันเบอร์กาม็อตนั้น ช่วยทำให้รู้สึกผ่อนคลายได้เป็นอย่างดี








 


ชาเลดี้เกรย์ เป็นชาที่มีกลิ่นเบอร์กาม็อต คล้ายกับชาเอิร์ลเกรย์ แต่ชาเลดี้เกรย์จะมีกลิ่นที่อ่อนโยนกว่า เลดี้เกรย์จะมีส่วนผสมของส้มในใบชาด้วย แม้ว่ากลิ่นจะคล้ายคลึงกัน แต่รสสัมผัสนั้นกลับบอบบางน่าทะนุถนอมกว่าชาเอิร์ลเกรย์




ชาอิงลิชเบรกฟาสต์ (English Breakfast Tea)
ชาอิงลิชเบรกฟาสต์ เป็นชาที่มีส่วนผสมของชาหลายชนิด แต่หลักๆ จะเป็นการผสมกันระหว่าง ชาอัสสัม , ชาซีลอน, ชาอัฟริกัน หรือ ชาเคนย่า เป็นชาสีสว่าง ที่รสชาติเข้มข้น อาจใส่นม หรือน้ำตาลตามชอบ เหมาะสำหรับดื่มในมื้อเช้า เพื่อเพิ่มความสดชื่นปลอดโปร่ง

ชาไอริชเบรกฟาสต์ (Irish Breakfast Tea) 
ชาไอริชเบรกฟาสต์ จะมีความเข้มข้นกว่า ชาอิงลิชเบรกฟาสต์ ที่เป็นเช่นนั้นก็เพราะว่า ชาไอชิชเบรกฟาสต์ มีส่วนผสมของชาอัสสัมที่มากกว่า

ชาปรินซ์ ออฟ เวลส์ (Prince of Wales tea)
ชาปรินซ์ ออฟ เวลส์ เป็นชาสูตรเฉพาะพระองค์ของ เจ้าชายเอ็ดเวิร์ดแห่งเวลส์ ซึ่งภายหลัง พระองค์ได้ขึ้นครองราชฯ เป็นพระเจ้าเอ็ดเวิร์ดที่ 8 แห่งสหราชอาณาจักร
ชาปรินซ์ ออฟ เวลส์ เป็นชารสนุ่มละมุน มีส่วนผสมหลัก คือ ชาแดงฉีเหมิน (Keemun red tea) แห่งมณฑลอานฮุย ประเทศจีน

รู้จักชาสูตรเด็ด ของตำนานชาแห่งเมืองอังกฤษ


ในเรื่องความขึ้นชื่อของการปรุงชาแบบสัญชาติอังกฤษแล้ว ต้องยกให้ ทไวนิงส์ หรือชื่อเต็มๆ ที่เรียกกันว่า Twinings of London 

 

ชาทไวนิงส์ twinings tea นับเป็นต้นตำรับชาอังกฤษที่อยู่คู่กับวัฒนธรรมการดื่มชาของชาวเมืองผู้ดีมากว่า 300 ปี ตั้งแต่ปี ค.ศ. 1706 และเป็นเครื่องดื่มในราชสำนักประจำราชวงศ์อังกฤษตั้งแต่ปี ค.ศ. 1837 ซึ่งด้วยระยะเวลาการก่อตั้งกว่า 307 ปี ชา ทไวนิงส์ ได้คัดสรรวัตถุดิบและพิถีพิถันในการปรุงชานานนับศตวรรษ เพื่อให้ได้ผลงานศิลปะขนานเอก ซึ่งปัจจุบันนี้มีทไวนิ่งมีชาที่ปรุงออกมาวางขายถึงมากนับพันสูตร

โดยจะมีผู้เชี่ยวชาญด้านชาระดับเทพอยู่ 14 คน มีอาชีพเป็นนักปรุงชา โดยพวกเขาเหล่านี้นับได้ว่ามีความรู้ในศิลปะการเบลนด์ชา หรือปรุงชา เป็นประสบการณ์รวมกันมากถึง 170 ปีเลยทีเดียว ที่ต้องคอยดูแลการผสมผสานชาของทไวนิงส์ในทุกแบบ ออกมาเป็นชาที่รสชาติดีได้มาตรฐานครบถ้วน โดย มร.มาร์ก นิโคลส์ ทไวนิงส์ ที แอมบาสเดอร์ ได้แนะนำชาชั้นเลิศอย่างชาดำ ซึ่งนำมาปรุง 4 สูตรเด็ดอย่าง

เอิร์ล เกรย์ - Earl Grey ชารสดีที่ทานได้ทุกช่วงเวลาของวัน
แม้ว่าปัจจุบันนี้เราจะได้ยินชื่อเอิร์ล เกรย์กันจนเกร่อ แต่สูตรต้นตำรับต้องยกให้กับทไวนิงส์ เพราะเอิร์ล เกรย์ นั่นมีจุดเริ่มต้นจากการที่ ทไวนิงส์ได้ปรุงขึ้นเป็นพิเศษสำหรับ ชาร์ล เอิร์ล เกรย์ ที่ 2 นายกรัฐมนตรีแห่งอังกฤษในระหว่างปี ค.ศ. 1830 - 1834 โดยปรุงจากชาดำคีมุน โดยมีรสชาติที่โดดเด่น เบาบาง และนุ่มนวล ผสานกลิ่นหอมของเบอกามอต ออยล์ ที่ให้ความรู้สึกสดชื่น กระตุ้นการรับรู้ของร่างกายเหมาะกับการดื่มด่ำในทุกช่วงเวลา และมีสูตรที่แตกแขนงออกมา อย่างเลดี้ เกรย์ ที่ผสานชาดำคีมุนเข้ากับเบอกามอต ออยล์, เปลือกผลไม้ตระกูลซิตรัสอย่างส้มและมะนาว และดอกไม้บลูคอร์น มอบรสชาติเบาบางและนุ่มนวลตั้งแต่สัมผัสแรก และทิ้งท้ายด้วยกลิ่นของซิตรัส ซึ่งทั้งสองเบลนด์สามารถทานคู่กับแซนด์วิส แซลมอน, สโม้ก แซลมอน หรืออาหารซีฟู้ดได้อย่างลงตัว

อิงลิชเบรกฟาสต์ - English Breakfast ชาที่ให้ความสดชื่นในยามเช้า
ถือเป็นศิลปะแห่งศาสตร์การปรุงชาขั้นสูง คัดสรรชาที่เหมาะจะให้ความสดชื่นและเหมาะสำหรับดื่มคู่กับอาหารเช้าในสไตล์อังกฤษ เขานำเอาชา 3 สายพันธุ์ อย่างชาดำอัสสัม ชาดำซีลอน และชาดำเคนย่า มาเบลนด์จนได้รสชาติที่เข้มข้นและนุ่มนวลของชาดำอย่างแท้จริง เหมาะเป็นเครื่องดื่มแก้วแรกยามเช้าที่อากาศแจ่มใส ช่วยปลุกความสดชื่น และเติมพลังในตอนเช้าได้อย่างเต็มที่
ไฟน์เนส ซีลอน - Finest Ceylon ชาสำหรับแกล้มขนมยามบ่าย
เป็นชาที่คัดเลือกใบชาจากแหล่งปลูกชาที่ดีที่สุด อย่าง “ซีลอน” ซึ่งเป็นพื้นที่เนินเขาสูงและมีทะเลล้อมรอบ โดยการปลูกชาของซีลอนสามารถแบ่งเป็น 3 ระดับตามความสูงเหนือระดับน้ำทะเล ซึ่งทำให้รสชาติแตกต่างกันไป ในชั้นที่สูงกว่าระดับน้ำทะเล 4,000 เมตรขึ้นไป ให้รสชาติบางเบาสดชื่นเวลาดื่ม ส่วนชั้นที่อยู่สูงกว่าระดับน้ำทะเลประมาณ 2,000 - 4,000 เมตร ทำให้ชามีรสชาติที่หนักแน่นขึ้น และสุดท้ายระดับไม่สูงมากซึ่งเป็นระดับที่ทไวนิงส์ได้ใช้ศิลปะในการปลูกต้นชาและคัดสรรใบชา เพื่อให้ได้มาถึงความเข้มข้นกลมกล่อมที่มาพร้อมกับความมันเสมือนถั่วของชา และมีรสชาติของซิตรัส จึงเหมาะกับการดื่มคู่กับข้าว ขนมปัง ครัวซองต์ แซนด์วิส หรืออาหารเมนูไก่ และอาหารที่มีรสชาติเผ็ดเล็กน้อย

ดาร์จีลิง - Darjeeling ชาหอมกรุ่นที่ดื่มแสนง่าย
เป็นชาจากแหล่งปลูกชาเมืองดาร์จีลิง ประเทศอินเดีย ด้วยทำเลที่ตั้งบนขุนเขาและล้อมรอบด้วยเทือกเขาหิมาลัย ทำให้ใบชาให้มีกลิ่นของทุ่งหญ้าและทุ่งดอกไม้ และให้รสชาติคงค้างที่คอคล้ายรสขององุ่นมัสคาเทลที่ใช้ในการหมักไวน์ ซึ่งเป็นเอกลักษณ์ที่โดดเด่นของชาดาร์จีลิงที่ทไวนิงส์รังสรรขึ้นจากเทคนิคการม้วนใบชาแบบ Broken Leaf ที่ทำให้ใบชาแตกระหว่างม้วนทำให้รสชาติของชาเข้มข้นและมีกลิ่นหอมเพิ่มขึ้น ดื่มแสนง่ายและช่วงให้ผู้ดื่มอารมณ์ดี


First Flush

Second Flush
 โดยเขายังมีแยกย่อยออกเป็น วินเทจ ดาร์จีลิง เฟิร์ท ฟลัช - First Flush ใบชาที่เก็บเกี่ยวเป็นครั้งแรกของปีในช่วงเดือนมีนาคม ช่วงเวลาที่ใบชาแตกยอดใบอ่อนครั้งแรก โดดเด่นด้วยกลิ่นหอมฟุ้งของทุ่งหญ้าและทุ่งดอกไม้นานาชนิด รสชาติเบาบาง และ วินเทจ ดาร์จีลิง เซคันด์ ฟลัช - Second Flush ใบชาที่เก็บช่วงเดือนกรกฎาคมของปี ให้กลิ่นหอมของทุ่งหญ้า และรสชาติเข้มข้นของชาดำ 


ช่วงเวลาของการดื่มชาที่เกิดขึ้นในอังกฤษประมาณยุค 1840 เนื่องจากในสมัยก่อนเวลาอาหารของคนอังกฤษมี 2 มื้อ คือมื้อเช้าและมื้อค่ำ ซึ่งเสิร์ฟตอน 2-3 ทุ่ม ดัสเชสแอนนา ดัสเชสลำดับที่ 7 แห่งเบดฟอร์ด (Duchess of Bedford) จึงสั่งให้มีการตั้งโต๊ะชา ขนมปัง และเค้กเพื่อเสิร์ฟระหว่างวันเพื่อดับความหิว และดัสเชสก็เริ่มเชิญเพื่อนๆ มาดื่มชาและทานขนมกับเธอจนกลายเป็นธรรมเนียมปฏิบัติต่อๆ มา 

โดยชาของอังกฤษแบ่งออกเป็น 2 ประเภทคือ Afternoon Tea และ High TeaAfternoon Tea vs. High Tea
Afternoon Tea หรือ Low Tea คือช่วงเวลาดื่มชายามบ่าย มักเริ่มทานตั้งแต่ 4 - 6 โมงเย็น เป็นมื้อของว่างระหว่างมื้อเช้าและมื้อค่ำของชาวอังกฤษที่มักทานกันตอนดึก จัดวางบนโต๊ะทรงเตี้ย ถือเป็นเป็นกิจกรรมของหญิงชนชั้นสูง และมีการจัดวางอาหารว่าง ขนมหวานทานคู่กับชาอีกด้วย

ส่วน High Tea คือ ชาที่เสิร์ฟในมื้อเย็นของชนชั้นแรงงาน ทานตอน 5โมงเย็น - 1 ทุ่ม ซึ่งจะถูกจัดวางบนโต๊ะอาหารทรงสูง จึงเป็นที่มาของคำว่า High ใน High Tea นั่นเอง
ขนมหวานและของว่างของ Afternoon Tea vs High Tea


 

  
Afternoon Tea ขนมที่เสิร์ฟที่ชั้นบนสุดคือ สโคน (Scone) มักทานคู่กับคลอทท์ครีม (Clotted Cream) แยม ให้ทานเป็นอันดับแรก ตามด้วยแซนด์วิช (Finger Sandwich) แซนด์วิชเล็กพอดีคำ และขนมหวานอื่นๆ เช่น เค้กชนิดต่างๆ จะอยู่ชั้นล่างสุด โดยจะเริ่มทานจากด้านบนลงล่าง และเมื่อทานแต่ละชั้นหมด ก็จะต้องถอดชั้นรองของชั้นนั้นออกทุกครั้ง


High Tea ดื่มชาพร้อมกับอาหารมื้อหลัก เสิร์ฟพร้อมกับขนมปัง เนื้อสัตว์ ปลา ไข่ ผัก ผลไม้ และของหวานชนิดต่างๆ เช่น เค้กฟองน้ำ (Sponge cakes), ทาร์ต (Tart), ช็อกโกแลต, แซนด์วิชและขนมอื่นๆ

ประเภทของ Afternoon Tea มีอะไรบ้าง?
Light Tea: ทานชากับสโคน (ไม่ทานครีม) + ขนมชิ้นเล็กๆเช่น ลูกกวาดหรือคุกกี้
Cream Tea: ทานชากับสโคน + แยม + ครีม
Full Tea: ทานชา + สโคน + แซนวิช + ขนมหลากชนิด

ลิ้งค์ข้อมูลเพิ่มเติมดูซักนิดก็ยังดีเป็นประโยชน์อย่างมาก! รีวิว 10 อันดับ Afternoon Tea ในลอนดอน

Cr. www.hotcourses.in.th
     www.manager.co.th
     www.manager.co.th
     writer.dek-d.com
     www.wongnai.com

What Does the World Eat for Breakfast?



วันอาทิตย์ที่ 8 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2558

Whitby UK


 

Whitby เมืองชายทะเลน่ารักห่างจากยอร์คประมาณ 47 ไมล์ เป็นเมืองเก่าแก่ที่มีมาตั้งแต่ยุคกลาง ตั้งอยู่ชายฝั่งทะเลตะวันออกของแคว้นยอร์คเชียบริเวณบริเวณปากแม่น้ำ เอสค์ (River Esk)

Whitby เป็นเมืองท่องเที่ยวที่มีเสน่ห์เฉพาะตัว และมีความเป็นสถานที่ท่องเที่ยวที่เพียบพร้อมทุกด้าน ไม่ว่าจะเป็นธรรมชาติอย่างหาดทรายริมทะเล ทุ่งหญ้า และเส้นทางเดินเท้าเลียบหน้าผา มีความเป็นเมืองท่องเที่ยวและมีความเป็นสถานที่ที่มาเรื่องราวทางประวัติศาสตร์ และเป็นสถานที่ที่โลกปัจจุบันและโลกในอดีตบรรจบกันอย่างลงตัวที่สุดแห่งหนึ่งก็ว่าได้

แม้จะไม่มีสถาปัตยกรรมอลังการ หรือบ้านเมืองที่ตกแต่งสวยงามเหมือนที่อื่นในอังกฤษหรือยุโรป แต่ในความเรียบง่ายของเมืองเล็ก ๆ ชายฝั่งทะเลเหนือแห่งนี้ มีความน่ารัก ความสวยงาม และความลึกลับที่ซ่อนเอาไว้ให้ค้นหา

ตึกรามบ้านช่องในเมืองบ้าง อาคารก่ออิฐก้อนโตตามสไตล์สถาปัตยกรรมยุคกลาง เนื่องจากทำเลที่ตั้งเป็นภูเขาถนนหนทางในเมืองจึงลาดเทคดเคี้ยวและค่อนข้างแคบ



























เมือง Whitby ถือว่าเป็นเมืองต้นกำเนิดของแดร็กคิวล่าก็ว่าได้เพราะ แบรม สโตรเกอร์ (Bram Stroker,1847 - 1912) ผู้แต่งนวนิยายเรื่อง Dracula ที่มีการนำไปสร้างหนังไม่รู้กี่รอบต่อกี่รอบ ได้แรงบันดาลใจจากการได้มาสัมผัสโบสถ์เก่า ๆ ที่ตั้งอยู่บนชะง่อนผาฝั่งตะวันออกของ Whitby นี่เอง 


ลิ้งค์เนื้อหาเพิ่มเติม น่าสนใจมาก! พาไปกิน Fish&Chip เมืองตากอากาศของชาวอังกฤษ
                                                      WHITBY – It’s the 3rd Time and I fall in love again
                                                      Whitby

Cr. pantip.com
    www.watkadarin.com
    www.holidaythai.com