วันอังคารที่ 31 มีนาคม พ.ศ. 2558

อักษรญี่ปุ่นมากจากไหน

สมัยโบราณมาแล้วเหล่ามนุษย์ญี่ปุ่นสามารถพูดคุยกันรู้เรื่องได้ แต่ไม่สามารถบันทึกตัวลงเป็นตัวอักษรได้ จนกระทั้งรับเอาอารยธรรมจากประเทศจีนเข้ามา แล้วก็เอาตัวอักษรจีน(ภาษาญี่ปุ่นเรียกว่า คันจิ ซึ่งยากระดับสุดยอดของโลก) เข้ามาใช้แทนเสียงพูดของตัวเอง เหมือนกับประเทศเกาหลีเพื่อนคู่แค้นเลย แต่เนื่องจากมันเขียนยากมาก ประโยคของภาษาญี่ปุ่นก็ออกหลายพยางค์กว่าจีนตั้งเยอะ กว่าจะพูดจบเขียนกันมือหงิก
ก็เลยมีคนหัวใสเปลี่ยน ตัวอักษรจีนบางตัวให้เป็นแทนเสียง ๆนึงซะเลย โดยการเขียนให้มันหวัด ๆ ง่าย ๆ เปลี่ยนร่างเป็นอักษร ฮิรางานะ ใช้เขียนคำญี่ปุ่นแท้ คำที่เขียนเป็นตัวคันจิไม่เป็น หรือคำอื่น ๆ (เอาไว้อธิบายทีหลังนะ ติดไว้ก่อน)ซึ่งเป็นอักษรที่น่ารักน่าเอ็นดูมาก
อีก วิธีหนึ่งคือเอาขีดบางขีดของตัวอักษรจีนที่อยู่ในตัวอักษรบางตัว แบ่งออกมาให้เป็นตัวแทนของเสียงของตัวอักษรนั้น ได้มาอีกชุดนึงละ ชื่อ คาตากานะ ไว้สำหรับเขียนทับศัพท์ภาษาต่างประเทศไง แต่ จีน เนี่ยไม่ถือว่าเป็นต่างประเทศของมันนะ เพราะผูกพันธ์กันมานาน คำศัพท์รับมาจากจีนซะเยอะ ใช้กันมานานจนเป็นปกติ เหมือนกับที่ภาษาไทยรับมาจากบาลี สันสกฤต เขมร แล้วเหมารวมว่าเป็นภาษาไทยได้ นั่นแหละ ญี่ปุ่นก็เหมารวมเอาว่าคำที่มาจากจีน ก็เป็นภาษาญี่ปุ่นเหมือนกัน หุ ๆ
แต่แล้วสมัยปัจจุบันคนต่างชาติเรียนภาษาญี่ปุ่นกันเยอะขึ้น และก็เพื่อให้เทียบกับภาษาอังกฤษได้ เลยมีการตั้งตัวอักษรโรมัน (a-z) หรือที่เรียกว่าโรมันจิ ขึ้นมาใช้มั่ง เพื่อให้คนต่างชาติอ่านได้ไงล่ะ
สรุปแล้ววันนี้เราได้รู้จักตัวอักษรญี่ปุ่นว่ามีทั้งหมดสามประเภท คือ
  1. อักษรฮิรางานะ (46 ตัว) ตัวอย่าง あなた
  2. อักษรคาตากานะ (46 ตัวเท่ากับฮิราเด๊ะ ๆ) ตัวอย่างダンスダンスレボリューション
  3. อักษรคันจิ (ที่ใช้บ่อย 1,945 ตัว) ตัวอย่าง 文部科学省
ถ้าลองเอามาใช้รวมกันก็จะได้ あたなは文部科学省ダンスダンスレボリューションをします
แต่เรามีอีกหนึ่งความง่ายของโลกที่เอาไว้เป็นตัวช่วยคือ
โรมันจิ (46 คำ) ตัวอย่าง ประโยคยาว ๆ ข้างบนเราจะเขียนได้ว่า Anata wa monbukagakusho de dansu dansu reboryuushon wo shimasu.
แต่ ว่าอ่านมาถึงตรงนี้อย่างเพิ่งท้อนะครับ มันไม่ยากอย่างที่คิดหรอกนะ เพราะว่าเดี๋ยวเราก็ยังไม่ต้องสนใจตัวประหลาดพวกนี้หรอก เพราะว่าต่อจากนี้ไปเราจะเรียนด้วยตัวโรมันจิ เพื่อความสบายใจของทุกท่าน รับรองครับภาษาญี่ปุ่นง่ายนิดเดียว

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น