เลโอนาร์โด ดา วินชี
เลโอนาร์โด ดา วินชี (อิตาลี: Leonardo da Vinci) เป็นชาวอิตาลี (เกิดที่เมืองวินชี วันที่ 15 เมษายน ค.ศ.1452 - เสียชีวิตที่เมืองออมบัวซ์ ในวันที่ 2 พฤษภาคม ค.ศ. 1519) เป็นอัจฉริยบุคคลที่มีความสามารถหลากหลาย เป็นทั้ง สถาปนิกแบบเรอเนซองส์ นักดนตรี นักกายวิภาค นักประดิษฐ์ วิศวกร ประติมากร นักเรขาคณิต นักวาดภาพ ดา วินชี มีงานศิลปะที่มีชื่อเสียงหลายชิ้น เช่น พระกระยาหารมื้อสุดท้าย และ โมนา ลิซ่า งานของ ดา วินชี ยังสร้างคุณประโยชน์กับวิชากายวิภาคศาสตร์ดาราศาสตร์ เป็นบุคคลแรกที่วางรากฐานด้านการบิน รวมถึงวิศวกรรมโยธา ด้วยความที่เป็นบุรุษที่มีจิตวิญญาณที่รักในศาสตร์หลายแขนง เลโอนาร์โดทำให้เกิดจิตวิญญาณของสหวิทยาการในสมัยฟื้นฟูศิลปวิทยาการ และกลายเป็นบุคคลสำคัญของยุคนั้น
|
เลโอนาร์โด ดา วินซี มีพรสวรรค์ในการวาดภาพ และฉายแววให้เห็นมาตั้งแต่เด็ก เมื่อเขาอายุได้ 18 ปี บิดาได้ส่งไปทำงานในห้องปฏิบัติงานศิลปะของศิลปินผู้มีชื่อเสียง อันเดรีย เวอร์รอกคิโอ ซึ่งทำให้เขามีความชำนาญในเรื่องการวาดรูป
นักบุญจอห์น/เทพบาคคัส(นักบุญจอห์นแบ็พทิสต์) (Saint John in the Wilderness Bacchus) |
พระเยซูรับศีลจุ่ม (vers 1475-1478) |
นักบุญเจอโรมในป่า(Saint Jerome) (v. 1480-1482) |
La belle Ferronière(v. 1483-1490) |
ภาพเหมือนล้อเลียน |
นักบุญจอห์นแบ็พทิสต์(Saint John the Baptist) (v. 1513-1516) |
ศึกษาตัวอ่อนมนุษย์ (Studies of embryos) (v.1509-1514) |
ภาพกายวิภาคที่ก้าวล้ำยุคสมัยไปมาก ที่เรารู้จักกันในนามของ "วิทรูเวียนแมน" (Vitruvian Man) |
พระกระยาหารมื้อสุดท้าย(The Last Supper) (1498) |
ภาพสเก็ตช์อาคาร |
ภาพสเก็ตช์ทหารสามหมวกเกราะ (Profile of a warrior in helmet) |
โมนาลิซ่า ภาพวาดที่อาจจะมีชื่อเสียงที่สุดในโลก |
เลโอนาร์โด ดา วินซี มักเป็นที่รู้จักกันในภาพความเป็นจิตรกรเอกของโลก แต่ในความเป็นจริงแล้ว เขายังมีความสามารถอีกหลายด้าน โดยเฉพาะความสามารถทางด้านวิทยาศาสตร์หลายแขนง ได้แก่ ดาราศาสตร์ คณิตศาสตร์ และชีววิทยา นอกจากนี้ยังมีการออกแบบนวตกรรมหลายอย่าง ผลงานของเขาส่วนใหญ่ มักเป็นพื้นฐานของสิ่งประดิษฐ์ในปัจจุบันนี้ด้วย เช่น เฮลิคอปเตอร์ เรือท้องแบน เรือดำน้ำ เครื่องแต่งกายมนุษย์กบ ปืนกล และประดิษฐ์ไฮโกรมิเตอร์ เป็นต้น
10 สุดยอดสิ่งประดิษฐ์ ของเลโอนาร์โด ดาวินชี
อันดับ 10 เทคนิคการเขียนกลับทาง (Mirror Writing)
เทคนิคการเขียนตัวอักษรย้อนกลับทิศทางจากตัวหลังไปตัวหน้าของดาวินชี สร้างข้อถกเถียงให้กับนักวิชาการจนถึงวันนี้ ว่า เป็นวิธีการเข้ารหัสแบบโบราณที่เขาสร้างขึ้นเพื่อป้องกันไม่ให้บุคคลอื่นๆ ลอบอ่านและขโมยข้อมูลในบันทึกส่วนตัว หรือจริงๆแล้วเป็นเพียงเพราะดาวินชี “ถนัดซ้าย” จึงคิดวิธีเขียนกลับหลังแบบนี้เพื่อไม่ให้น้ำหมึกเปื้อนมือกันแน่
อันดับ 9 ชุดดำน้ำ (Scuba Gear)
ผลพวงจากการที่ดาวินชีหลงใหลในท้องทะเลอันกว้างใหญ่ไพศาล เป็นที่มาของการออกแบบอุปกรณ์เครื่องไม้เครื่องมือสำหรับการดำน้ำขึ้นมาหลาย ชนิดในจำนวนนี้ รวมถึงเรือดำน้ำ และชุดประดาน้ำที่ตัวชุดทำจากหนังและเชื่อมต่อกับท่อและโลหะทรงกลมซึ่งทำ หน้าที่เป็นเหมือนสนอร์เกิ้ล หรือหน้ากากดำน้ำยุคปัจจุบัน นอกจากนั้น ชุดดำน้ำชุดนี้ยังมีถุงเก็บปัสสาวะด้วย แสดงให้เห็นถึงความรอบคอมในการออกแบบ
อันดับ 8 สะพานชักรอก (The Revolving Bridge)
ดาวินชีออกแบบสะพานสำหรับใช้ในการเคลื่อนพลผ่านพื้นที่ในสมรภูมิทุรกันดาร ต่างๆ เช่น การยกพลข้ามแม่น้ำ ตัวสะพานดังกล่าวมีระบบชักรอกและสายพาน ทำให้ทหารกางออกมาใช้งานและชักรอกเก็บได้อย่างรวดเร็ว เป็นหนึ่งในเครื่องจักรทุ่นแรงอีกหลายชนิดจากการคิดค้นของดาวินชี
อันดับ 7 เครื่องร่อน (The Winged Gilder)
ภายในคลังจินตนาการอันไม่มีที่สิ้นสุดของดาวินชีนั้น มี “เครื่องกลบินได้” รวมอยู่ด้วยเป็นจำนวนมาก รวมถึง “เครื่องร่อน” ซึ่งตรงบริเวณปีกมีแผ่นบังคับเปิด-ปิดควบคุมทิศทางได้หรือที่ปัจจุบันเรียก ว่า “แฟลบ” และในตัวเครื่องร่อนยังมีเกียร์ควบคุมความเร็วที่นั่งติดอยู่ด้วย
อันดับ 6 ปืนใหญ่ 3 ลำกล้อง (The Triple-Barreled Cannon)
แม้ประวัติของดาวินชีจะเกลียดสงคราม มีลักษณะเป็น “นักคิด” มากกว่า “นักรบ” แต่ในใจของเขาก็ยังฝันถึงการคิดค้นงานด้านวิศวกรรม หนทางเดียวที่จะทำเช่นนั้นได้ คือ การออกแบบอาวุธสงครามเพราะได้รับการสนับสนุนจากผู้มีอำนาจมากที่สุด หนึ่งในผลงานการออกแบบอาวุธ ได้แก่ ปืนใหญ่ที่มีอานุภาพที่มีลำกล้องติดกันถึง 3 กระบอก เหมือนกับที่เห็นในภาพ
ผลพวงจากการที่ดาวินชีหลงใหลในท้องทะเลอันกว้างใหญ่ไพศาล เป็นที่มาของการออกแบบอุปกรณ์เครื่องไม้เครื่องมือสำหรับการดำน้ำขึ้นมาหลาย ชนิดในจำนวนนี้ รวมถึงเรือดำน้ำ และชุดประดาน้ำที่ตัวชุดทำจากหนังและเชื่อมต่อกับท่อและโลหะทรงกลมซึ่งทำ หน้าที่เป็นเหมือนสนอร์เกิ้ล หรือหน้ากากดำน้ำยุคปัจจุบัน นอกจากนั้น ชุดดำน้ำชุดนี้ยังมีถุงเก็บปัสสาวะด้วย แสดงให้เห็นถึงความรอบคอมในการออกแบบ
อันดับ 8 สะพานชักรอก (The Revolving Bridge)
ดาวินชีออกแบบสะพานสำหรับใช้ในการเคลื่อนพลผ่านพื้นที่ในสมรภูมิทุรกันดาร ต่างๆ เช่น การยกพลข้ามแม่น้ำ ตัวสะพานดังกล่าวมีระบบชักรอกและสายพาน ทำให้ทหารกางออกมาใช้งานและชักรอกเก็บได้อย่างรวดเร็ว เป็นหนึ่งในเครื่องจักรทุ่นแรงอีกหลายชนิดจากการคิดค้นของดาวินชี
อันดับ 7 เครื่องร่อน (The Winged Gilder)
ภายในคลังจินตนาการอันไม่มีที่สิ้นสุดของดาวินชีนั้น มี “เครื่องกลบินได้” รวมอยู่ด้วยเป็นจำนวนมาก รวมถึง “เครื่องร่อน” ซึ่งตรงบริเวณปีกมีแผ่นบังคับเปิด-ปิดควบคุมทิศทางได้หรือที่ปัจจุบันเรียก ว่า “แฟลบ” และในตัวเครื่องร่อนยังมีเกียร์ควบคุมความเร็วที่นั่งติดอยู่ด้วย
อันดับ 6 ปืนใหญ่ 3 ลำกล้อง (The Triple-Barreled Cannon)
แม้ประวัติของดาวินชีจะเกลียดสงคราม มีลักษณะเป็น “นักคิด” มากกว่า “นักรบ” แต่ในใจของเขาก็ยังฝันถึงการคิดค้นงานด้านวิศวกรรม หนทางเดียวที่จะทำเช่นนั้นได้ คือ การออกแบบอาวุธสงครามเพราะได้รับการสนับสนุนจากผู้มีอำนาจมากที่สุด หนึ่งในผลงานการออกแบบอาวุธ ได้แก่ ปืนใหญ่ที่มีอานุภาพที่มีลำกล้องติดกันถึง 3 กระบอก เหมือนกับที่เห็นในภาพ
อันดับ 5 สกรูบิน (The Aerial Screw)
ถึงแม้นักวิทยาศาสตร์สมัยใหม่จะลงความเห็นตรงกันว่ามันไม่มีทางที่เจ้าอุปกรณ์ชิ้นนี้จะบินขึ้นจากพื้นได้ แต่ “เฮลิคอปเตอร์” ใน แบบของดาวินชีก็ยังคงถูกจัดให้เป็นหนึ่งในผลงานที่โด่งดังที่สุดของเขา เครื่องกลที่ชวนให้สงสัยนี้ดูเหมือนว่าจะถูกออกแบบให้ทำงานโดยใช้คนสี่คนมาหมุน มันพร้อมกัน รวมทั้งน่าจะได้รับแรงบันดาลใจมาจากกังหันลมซึ่งเป็นของเล่นที่นิยมกันใน สมัยนั้นด้วย
ถึงแม้นักวิทยาศาสตร์สมัยใหม่จะลงความเห็นตรงกันว่ามันไม่มีทางที่เจ้าอุปกรณ์ชิ้นนี้จะบินขึ้นจากพื้นได้ แต่ “เฮลิคอปเตอร์” ใน แบบของดาวินชีก็ยังคงถูกจัดให้เป็นหนึ่งในผลงานที่โด่งดังที่สุดของเขา เครื่องกลที่ชวนให้สงสัยนี้ดูเหมือนว่าจะถูกออกแบบให้ทำงานโดยใช้คนสี่คนมาหมุน มันพร้อมกัน รวมทั้งน่าจะได้รับแรงบันดาลใจมาจากกังหันลมซึ่งเป็นของเล่นที่นิยมกันใน สมัยนั้นด้วย
อันดับ 4 เมืองในอุดมคติ (The Ideal City)
ยุคสมัยหนึ่ง ดาวินชีอาศัยอยู่ในนครมิลานท่ามกลางสภาพการแพร่ระบาดของโรคร้าย เขาจึงคิดออกแบบผังเมืองใหม่ให้มีความสะอาด เป็นระเบียบ ถูกสุขอนามัย อาทิ เขียนแบบให้เมืองในอุดมคติเมื่อหลายร้อยปีก่อนแห่งนี้มี “ระบบระบายอากาศ” เพื่อดึงอากาศบริสุทธิ์เข้าสู่ตัวเมือง และมีระบบระบายน้ำเสีย
อันดับ 3 รถขับเคลื่อนด้วยตัวเอง (The Self-Propelled Car)
แน่นอนว่ารถที่ดาวินชีพยายามสร้างไม่สามารถวิ่งเร็วหลายร้อยกิโลเมตรต่อ ชั่วโมงเหมือนรถเฟอร์รารี่ แต่ถ้าคิดว่าเป็นรถที่อยู่ในสมัยนั้นก็ต้องจัดว่าไฮเทคล้ำยุคสุดๆ เพราะรถที่มีตัวถึงทำจากไม้คันนี้ สามารถแล่นขับเคลื่อนด้วยตัวมันเองด้วยแรงส่งและการทำงานอย่างสัมพันธ์กัน ระหว่างสปริงและเกียร์ที่ล้อ เมื่อปี 2547 นักวิทยาศาสตร์ประจำพิพิธภัณฑ์ในเมืองฟลอเรนซ์ทดลองสร้างแบบจำลองรถรุ่นนี้ ตามแบบที่ดาวินชีร่างเอาไว้และพบว่าวิ่งได้จริง
อันดับ 2 แนวคิดเกี่ยวกับธรณีวิทยา (Geologic Time)
นักคิดส่วนมากในสมัยของดาวินชีนั้นมีความเห็นตรงกันเป็นส่วนใหญ่ว่าซาก ฟอสซิลของพวกหอย ปู ปลาหมึกต่างๆที่พบบนยอดเขานั้นเป็นสิ่งที่หลงเหลือจากการเกิดน้ำท่วมครั้ง ใหญ่ แต่ดาวินชีกลับไม่คิดเช่นนั้น เขาตั้งข้อสงสัยไว้ (ซึ่งก็ถูกเสียด้วย) ว่าภูเขาเหล่านั้นจะต้องเคยเป็นชายฝั่งมาก่อน ก่อนที่จะค่อยๆยกตัวสูงขึ้นๆในเวลาต่อมา (wow!!)
ยุคสมัยหนึ่ง ดาวินชีอาศัยอยู่ในนครมิลานท่ามกลางสภาพการแพร่ระบาดของโรคร้าย เขาจึงคิดออกแบบผังเมืองใหม่ให้มีความสะอาด เป็นระเบียบ ถูกสุขอนามัย อาทิ เขียนแบบให้เมืองในอุดมคติเมื่อหลายร้อยปีก่อนแห่งนี้มี “ระบบระบายอากาศ” เพื่อดึงอากาศบริสุทธิ์เข้าสู่ตัวเมือง และมีระบบระบายน้ำเสีย
อันดับ 3 รถขับเคลื่อนด้วยตัวเอง (The Self-Propelled Car)
แน่นอนว่ารถที่ดาวินชีพยายามสร้างไม่สามารถวิ่งเร็วหลายร้อยกิโลเมตรต่อ ชั่วโมงเหมือนรถเฟอร์รารี่ แต่ถ้าคิดว่าเป็นรถที่อยู่ในสมัยนั้นก็ต้องจัดว่าไฮเทคล้ำยุคสุดๆ เพราะรถที่มีตัวถึงทำจากไม้คันนี้ สามารถแล่นขับเคลื่อนด้วยตัวมันเองด้วยแรงส่งและการทำงานอย่างสัมพันธ์กัน ระหว่างสปริงและเกียร์ที่ล้อ เมื่อปี 2547 นักวิทยาศาสตร์ประจำพิพิธภัณฑ์ในเมืองฟลอเรนซ์ทดลองสร้างแบบจำลองรถรุ่นนี้ ตามแบบที่ดาวินชีร่างเอาไว้และพบว่าวิ่งได้จริง
อันดับ 2 แนวคิดเกี่ยวกับธรณีวิทยา (Geologic Time)
นักคิดส่วนมากในสมัยของดาวินชีนั้นมีความเห็นตรงกันเป็นส่วนใหญ่ว่าซาก ฟอสซิลของพวกหอย ปู ปลาหมึกต่างๆที่พบบนยอดเขานั้นเป็นสิ่งที่หลงเหลือจากการเกิดน้ำท่วมครั้ง ใหญ่ แต่ดาวินชีกลับไม่คิดเช่นนั้น เขาตั้งข้อสงสัยไว้ (ซึ่งก็ถูกเสียด้วย) ว่าภูเขาเหล่านั้นจะต้องเคยเป็นชายฝั่งมาก่อน ก่อนที่จะค่อยๆยกตัวสูงขึ้นๆในเวลาต่อมา (wow!!)
อันดับ 1 วิทรูเวียนแมน (The Vitruvian Man)
เชื่อว่าชาวโลกน้อยคนนักที่จะไม่เคยผ่านตากับภาพวาดของบุรุษผู้นี้ นั่นก็คือภาพ “วิทรูเวียน แมน” ซึ่งเกิดขึ้นจากการที่ดาวินชีศึกษาสัดส่วนกายวิภาคมนุษย์อย่างละเอียด จนพิสูจน์ทฤษฎีบทของ “วิทรูเวียน” ผู้เป็นสถาปนิกยุคจักรวรรดิโรมันได้สำเร็จว่า “ร่างคนยืนกางแขนขาจะตกเป็นรูปทรงเรขาคณิตที่สมบูรณ์เสมอ” และนับเป็นการเปิดประตูสู่ศาสตร์กายวิภาคครั้งสำคัญ
เชื่อว่าชาวโลกน้อยคนนักที่จะไม่เคยผ่านตากับภาพวาดของบุรุษผู้นี้ นั่นก็คือภาพ “วิทรูเวียน แมน” ซึ่งเกิดขึ้นจากการที่ดาวินชีศึกษาสัดส่วนกายวิภาคมนุษย์อย่างละเอียด จนพิสูจน์ทฤษฎีบทของ “วิทรูเวียน” ผู้เป็นสถาปนิกยุคจักรวรรดิโรมันได้สำเร็จว่า “ร่างคนยืนกางแขนขาจะตกเป็นรูปทรงเรขาคณิตที่สมบูรณ์เสมอ” และนับเป็นการเปิดประตูสู่ศาสตร์กายวิภาคครั้งสำคัญ
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น