วันอังคารที่ 17 มิถุนายน พ.ศ. 2557

ต้นไม้หรือดอกไม้ประจำมหาวิทยาลัยต่างๆ


                                        

1. จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ได้แก่ ต้นจามจุรี เป็นต้นไม้ประจำมหาวิทยาลัย ถือเป็นสัญลักษณ์อย่างหนึ่งของจุฬาฯ มีความผูกพันกับชาวจุฬาฯ มาตั้งแต่เริ่มก่อตั้งเป็นมหาวิทยาลัย ในวันที่ 15 มกราคม 2505 พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช ได้เสด็จพระราชดำเนินไปยังจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย พร้อมพระราชทานต้นจามจุรีแก่มหาวิทยาลัย จำนวน 5 ต้น ซึ่งพระองค์ทรงนำมาจากวังไกลกังวล หัวหิน และทรงปลูกด้วยพระองค์เอง พร้อมทั้งพระราชทานพระราชดำรัสว่า "จึงขอฝากต้นไม้ไว้ห้าต้นให้เป็นเครื่องเตือนใจตลอดกาล"



                                     

2. มหาวิทยาลัยกรุงเทพ ได้แก่ ต้นชัยพฤกษ์ เป็นต้นไม้มงคลที่ใช้ในพิธีการมงคลตามความเชื่อของคนไทย นำมาใช้เป็นต้นไม้ประจำมหาวิทยาลัย สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา สยามบรมราชกุมารี ทรงปลูกต้นชัยพฤกษ์ ณ บริเวณด้านหน้าอาคารฝั่งทิศใต้ ของอาคารหอสมุดสุรัตน์ โอสถานุเคราะห์ นับเป็นพระกรุณาธิคุณและเป็นมิ่งขวัญของชาวมหาวิทยาลัยกรุงเทพ ที่ต้นชัยพฤกษ์แห่งมิ่งมงคลนี้ จะหยั่งรากลึกลงในหัวใจของชาวมหาวิทยาลัยกรุงเทพสืบต่อไป



                       

3. มหาวิทยาลัยขอนแก่น ได้แก่ ดอกกัลปพฤกษ์ เป็นต้นไม้ที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว และสมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถ ทรงปลูกพระราชทาน เมื่อครั้งเสด็จพระราชดำเนินประกอบพิธีเปิดมหาวิทยาลัย เมื่อวันที่ 20 ธันวาคม พุทธศักราช 2510 ต้นกัลปพฤกษ์เป็นต้นไม้ที่มีชื่อทางวิทยาศาสตร์ว่า Cassia bakeriana Craib ลักษณะเป็นต้นไม้ขนาดย่อม พุ่มใบแบนกว้าง ดอกสีชมพูระเรื่อสลับขาว ออกดอกเป็นช่อช่วงปลายฤดูหนาวย่างเข้าฤดูร้อน ชาวมหาวิทยาลัยขอนแก่จะเรียกว่า ดอกกาลพฤกษ์ ด้วยเหตุที่ว่า ดอกกาลพฤกษ์บานคราใดก็ถึงเวลาของการสอบไล่ ปิดภาคปลายและจบการศึกษา กาลพฤกษ์จึงเปรียบเสมือนต้นไม้แห่งกาลเวลาของมหาวิทยาลัยขอนแก่น



                                        

4. มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ได้แก่ นนทรีทรงปลูก พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงปลูกต้นนนทรี จำนวน ๙ ต้น ณ บริเวณหน้าหอประชุม มก. เมื่อวันที่ ๒๙ พฤศจิกายน ๒๕๐๖ เวลา ๑๕.๓๐ น. นับเป็นวันประวัติศาสตร์ นนทรีทรงปลูกที่ชาวมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ต้องจารึกไว้ในดวงจิตอย่างไม่มีวันลืม ต้นนนทรี (Peltophorum pterocarpum ) เป็นไม้ยืนต้นในตระกูล Leguminasae มีอายุยาวนาน ใบเขียว ตลอดปี ลำต้นแข็งแรง เปลือกสีเทาอม น้ำตาล ชูกิ่งก้านสาขาแผ่เรือนยอดสู่เบื้องบน ใบเป็นช่อแบบขนนกสองชั้น ดอกสีเหลือง ออกรวมกันเป็นช่อตั้ง ชี้ขึ้นตามปลายกิ่ง ผลเป็นฝักแบน ๆ เกลี้ยง ฝักอ่อนสีเขียว เมื่อ แก่ออกสีน้ำตาลแดง ทนทานในทุกสภาพ อากาศ



                          

5. มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ ได้แก่ ต้นประดู่แดง เป็นไม้เนื้อแข็งที่มีความแข็งแกร่ง ซึ่งแสดงถึงความแข็งแกร่งของสถาบัน ดอกที่มีสีแดงเข้ม ก็ตรงกับสีประจำสถาบัน และต้นประดู่แดงจะออกดอกในช่วงเดือนกุมภาพันธ์ ซึ่งตรงกับวันสถาปนามหาวิทยาลัย นั่นก็คือ 19 กุมภาพันธ์ ของทุกปี


      

6. มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ได้แก่ ต้นหางนกยูง ซึ่งพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ได้เสด็จพระราชดำเนินมาทรงดนตรีที่หอประชุมใหญ่ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ เมื่อวันที่ 9 กุมภาพันธ์ 2506 และได้ทรงปลูกต้น "หางนกยูง" จำนวนห้าต้น ที่บริเวณหน้าหอประชุมใหญ่ เพื่อให้เป็นต้นไม้ประจำมหาวิทยาลัย ตามที่นักศึกษาขอพระราชทาน ซึ่งผู้ขอคือ นายวิทยา สุขดำรง



                                 

                                       

7. มหาวิทยาลัยมหิดล ได้แก่ ต้นกันภัยมหิดล ซึ่ง สมเด็จพระเจ้าพี่นางเธอ เจ้าฟ้ากัลยาณิวัฒนา กรมหลวงนราธิวาสราชนครินทร์ ประทานพระราชวินิจฉัยชี้ขาดให้ "ต้นกันภัยมหิดล" เป็นต้นไม้สัญลักษณ์ประจำมหาวิทยาลัยมหิดล เมื่อวันที่ 19 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2542



                                   

8. มหาวิทยาลัยอัสสัมชัญ ได้แก่ ต้นอโศก คือ ต้นไม้สัญลักษณ์มหาวิทยาลัยอัสสัมชัญ มีชื่อทางวิทยาศาสตร์ว่า พอลิแอลเธีย ลองจิโฟเลีย (Polyalthea longifolia) มีแหล่งกำเนิดในอินเดียและศรีลังกา เหตุผลที่มหาวิทยาลัยเลือกต้นอโศกเป็นต้นไม้ประจำมหาวิทยาลัย



          

9. มหาวิทยาลัยรังสิต มหาวิทยาลัยรังสิตได้ปลูก ต้นพะยอม ไว้เพื่อเป็นสัญลักษณ์ของสถาบัน และในโอกาสที่มหาวิทยาลัย เกษตรศาสตร์ รับเป็นเจ้าภาพจัดการแข่งขันกีฬามหาวิทยาลัยแห่งประเทศไทยครั้งที่ 20 เมื่อประมาณต้นปี พ.ศ. 2536 ได้มีหนังสือขอทราบชื่อต้นไม้ที่ใช้เป็นสัญลักษณ์ของมหาวิทยาลัยรังสิต เพื่อดำเนินการปลูกในบริเวณมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ให้นักกีฬาและนิสิต นักศึกษาได้เยี่ยมชมระหว่างการแข่งขันกีฬา คณะผู้บริหารมหาวิทยาลัยโดย ดร. สืบแสง พรหมบุญ(ขณะดำรงตำแหน่งรองอธิการบดี) ได้มีมติเห็นชอบกำหนดให้ต้นพะยอมเป็นต้นไม้สัญลักษณ์ประจำมหาวิทยาลัยรังสิต



       

10. มหาวิทยาลัยศิลปากร ได้แก่ ต้นจัน ต้นไม้ใหญ่ ผลมีกลิ่นหอมเฉพาะตัว ยืนต้นเก่าแก่อยู่คู่กับวังท่าพระมาช้านาน และยังมีต้นเก่าแก่อีกต้นที่พระตำหนักทับขวัญ พระราชวังสนามจันทร์ มหาวิทยาลัยจึงกำหนดให้ต้นจันเป็นต้นไม้ประจำมหาวิทยาลัย เป็นที่มาของเพลงกลิ่นจัน ปัจจุบันมีการปลูกต้นจันที่วิทยาเขตสารสนเทศเพชรบุรีเพิ่มขึ้นด้วย

เด็กและวัยรุ่นกับการใช้โทรศัพท์มือถือ





เมื่อไม่นานมานี้ ทางการประเทศอังกฤษเริ่มต้นการศึกษาสำคัญอย่างหนึ่ง นั่นคือ การศึกษาว่าด้วยผลกระทบของโทรศัพท์มือถือต่อภาวะการรู้คิดของเด็กและวัยรุ่น หรือที่เรียกสั้นๆ ว่า "สแคมป์" เป็นระยะเวลา 3 ปี โดยมีศูนย์เพื่อสิ่งแวดล้อมและสุขภาพ (ซีอีเอช) ของอังกฤษเป็นแม่งาน

ตามความรับรู้ของผม นี่นับเป็นครั้งแรกในโลกเท่าที่มีขึ้นมาในเรื่องที่เกี่ยวเนื่องกับผลกระทบในเชิงจิตวิทยาจากการใช้โทรศัพท์มือถือ

การศึกษาเรื่องผลกระทบของโทรศัพท์มือถือนั้นมีน้อย การศึกษาในเชิงจิตวิทยายิ่งแทบไม่มี แถมที่มุ่งเน้นไปที่เด็กและวัยรุ่น ยิ่งไม่เคยปรากฏ ทั้งๆ ที่เป็นเรื่องสำคัญอย่างยิ่ง

การศึกษาวิจัยส่วนใหญ่ทางด้านผลกระทบของการใช้มือถือต่อสุขภาพ มักเน้นไปที่การศึกษาผลกระทบการแผ่รังสีของคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้า ทั้งจากมือถือ จากอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ หรือแม้แต่การอยู่ใกล้เสาอากาศโทรศัพท์ของแต่ละเซลล์ไซต์ ด้วยข้อเท็จจริงพื้นฐานที่ว่า เนื้อเยื่อของคนเราสามารถ "ดูดซับ" รังสีที่ว่านั้นได้

ผลของการศึกษาเหล่านั้น แม้ว่าทั้งหมดจะไม่แสดงให้เห็นถึงอะไรๆ ที่น่าจะเป็นข้อกังวลเชิงสุขภาพในทันที แต่ก็แสดงให้เห็นหลายๆ กรณีที่คลื่นดังกล่าวก่อให้เกิดผลกระทบทางชีวะ อย่างเช่น ผลการศึกษาเมื่อปี 2011 ที่พบว่า ถ้าคนเราตกอยู่ในรัศมีของคลื่นโทรศัพท์มือถือนาน 50 นาที กลไกเมทาบอลิซึ่มในสมองจะย่อย "กลูโคส" เพิ่มมากขึ้นอย่างเห็นได้ชัด แต่ "ผลการศึกษานี้ไม่รู้ว่ามีนัยสำคัญเชิงคลินิกหรือไม่" ผู้ศึกษาสรุปไว้เช่นนั้น

นอกจากนั้นยังมีสถิติการเชื่อมโยงในเชิงสห สัมพันธ์ระหว่างการใช้โทรศัพท์มือถือกับมะเร็งในสมอง แต่ก็อีกนั่นแหละ ไม่มีการพบการเชื่อมโยงในเชิงชีววิทยาที่จะเป็นพื้นฐานในการสร้างความกังวล ในเรื่องนี้ได้

ประเด็นที่น่าสนใจก็คือในเวลานี้ โทรศัพท์มือถือแพร่หลายอย่างมาก และมีแนวโน้มจะมากขึ้นเรื่อยๆ ในขณะเดียวกัน ผู้ผลิตก็ยิ่งพัฒนาให้เครื่องรุ่นใหม่ๆ "แรง" ขึ้นตามลำดับทุกปี ผู้ใช้ที่เป็นวัยรุ่นและเด็กไม่เพียงมีจำนวนมากขึ้น ยังมีอายุน้อยลงตามลำดับ ในผลการศึกษาล่าสุดของ "อิมพีเรียล คอลเลจ ลอนดอน" พบว่าวัยรุ่นอายุระหว่าง 11-12 ปีในอังกฤษมีโทรศัพท์มือถือถึง 70 เปอร์เซ็นต์ นี่ยังไม่นับอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์อื่นๆ ที่นับวันจะเพิ่มมากขึ้นตามระดับราคาที่ลดลงเรื่อยๆ อีกด้วย

นั่นหมายถึงว่า ในชั่วชีวิตคนหนึ่งๆ คนเราจะใช้โทรศัพท์และอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ที่แผ่คลื่นแม่เหล็กไฟฟ้ายาวนานขึ้นเรื่อยๆ เช่นเดียวกัน

นั่นคือเหตุผลที่ทำให้ เมื่อปี 2010 องค์การอนามัยโลก ออกมาเรียกร้องให้มีการศึกษาผลกระทบจากการใช้งานมือถือนานๆ ที่มีต่อโรคอย่างอัลไซเมอร์ หรือพาร์คินสัน

พร้อมกันนั้นก็ ย้ำเอาไว้ด้วยว่าถือเป็นความจำเป็น "เร่งด่วน" ที่จำเป็นต้องมีการศึกษาผลกระทบของมือถือในเด็กและวัยรุ่นอีกด้วย

สิ่งที่ทำให้นักวิชาการเป็นกังวลก็คือข้อเท็จจริงที่ว่า "ระบบประสาท" ทั้งระบบของเด็ก-วัยรุ่นนั้นแตกต่างกับของผู้ใหญ่อยู่ตรงที่ระบบประสาทของ เด็กและวัยรุ่นยังคงอยู่ระหว่างการพัฒนา ทำให้ความเสี่ยงที่จะเกิดผลกระทบในทางลบต่อระบบทั้งหมดหรือส่วนหนึ่งส่วนใด มีสูงกว่าระบบประสาทของผู้ใหญ่ที่พัฒนาเต็มที่แล้ว นอกจากนั้นเด็กๆ และวัยรุ่นที่สัมผัสและใช้งานมือถือในวัยเยาว์ ก็จะสัมผัสและใช้งานมือถือเป็นระยะเวลายาวนานในช่วงชีวิตของตัวเองมากกว่า ผู้ที่เริ่มต้นใช้ในวัยผู้ใหญ่

ในการสำรวจทั่วยุโรปของสถาบัน เซฟาโล ที่วินิจฉัยเด็กๆ ชาวยุโรปอายุระหว่าง 7-19 ปีที่ล้มป่วยด้วยโรคเนื้องอกในสมองระหว่างปี 2004-2008 ได้ผลสรุปที่น่าสนใจอย่างยิ่งว่า ถึงจะไม่สามารถยืนยันได้ว่าอาการป่วยของเด็กๆ เหล่านี้เกี่ยวพันกับการใช้โทรศัพท์มือถือ แต่ก็ไม่สามารถตัดความเกี่ยวพันกับมือถือออกไปได้เช่นเดียวกัน

นอกจากนั้นยังมีการศึกษาที่เรียกว่า "โมบี้-คิดส์" ซึ่งสำรวจเพื่อศึกษาวิจัยกลุ่มตัวอย่างอายุระหว่าง 10-24 ปี ที่มีป่วยเป็นเนื้องอกในสมองในช่วงระยะเวลา 5 ปี แต่ผลการศึกษาวิจัยนี้ยังไม่สิ้นสุดและกำหนดเผยแพร่ในปี 2016

"สแคมป์" แตกต่างออกไปจากการศึกษาเหล่านั้น เพราะเน้นไปที่การทดสอบ "การรับรู้" หรือ "การรู้คิด" (ค็อกนิชั่น) ที่จะเกี่ยวเนื่องกับกระบวนการคิด กระบวนการตัดสินใจ การไตร่ตรองใคร่ครวญและรำลึกถึงข้อมูลข่าวสารต่างๆ

กระบวนการเหล่านี้เชื่อมโยงกับภูมิปัญญา ผลสัมฤทธิ์ทางการศึกษา และจะก่อรูปเป็นพื้นฐานของความคิดสร้างสรรค์และศักยภาพในเชิงสร้างสรรค์ของ บุคคลแต่ละบุคคล


                                  



                                  

หมอชี้น้ำดื่มขวดพลาสติกเก็บในรถนานๆไม่ก่อสารพิษ ทดลองแล้ว อย่าหลงเชื่อโลกออนไลน์



วันที่ 2 มิถุนายน นพ.อภิชัย มงคล อธิบดีกรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ กระทรวงสาธารณสุข(สธ.) เปิดเผยว่า ขณะนี้มีกระแสข่าวจากสื่อสังคมออนไลน์เตือนให้หลีกเลี่ยงการบริโภคน้ำดื่มบรรจุขวดพลาสติกที่เก็บในหลังรถยนต์และจอดกลางแดดโดยมีโอกาสได้รับสารไดออกซินที่แพร่ออกมาจากขวดน้ำพลาสติกเนื่องจากอากาศร้อนจัดอาจทำให้เกิดมะเร็งเต้านมหรือมะเร็งอื่นๆ ได้ ทำให้ผู้บริโภคเกิดความตื่นกลัวถึงอันตรายจากการดื่มน้ำบรรจุ ขวดพลาสติก

                      

กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ โดยสำนักคุณภาพและความปลอดภัยอาหาร ซึ่งมีภารกิจ ในการวิเคราะห์ วิจัยทางด้านไดออกซิน น้ำดื่ม และวัสดุสัมผัสอาหาร ชี้แจงข้อมูลดังกล่าวเพื่อให้ความรู้ผู้บริโภคดังนี้ สารไดออกซิน (Dioxins) เป็นชื่อกลุ่มสารที่มีโครงสร้างและสมบัติทางเคมีใกล้เคียงกัน ประกอบด้วย สารกลุ่มโพลี คลอริเนตเตท ไดเบนโซพารา ไดออกซิน (Polychlorinated dibenzo-para-dioxins: PCDDs) สารกลุ่มโพลีคลอริเนตเตท ไดเบนโซ ฟูแรน (Polychlorinated dibenzo furans: PCDFs) และสารกลุ่มโพลีคลอริเนตเตทไบฟีนิล ที่มีสมบัติคล้ายสารไดออกซิน (Dioxins-like polychlorinated biphenyls: DL-PCBs) ซึ่งกลุ่มสารไดออกซินที่ก่อให้เกิดพิษมี 29 ตัว และสารแต่ละตัวจะมีค่าความเป็นพิษแตกต่างกัน

นพ.อภิชัย กล่าวว่ากระแสข่าวเรื่องไดออกซินละลายออกมาจากขวดบรรจุน้ำดื่มเมื่อวางไว้ในที่ร้อนๆ เช่น หลังรถยนต์นั้น เป็นเหมือนเรื่องเล่าต่อๆ กันมาโดยปราศจากแหล่งข้อมูลที่แน่ชัด ซึ่งจริงๆแล้ว ไม่เคยมีรายงานการตรวจพบไดออกซินในพลาสติก และสารเคมีต่างๆ ที่มีการกล่าวอ้างว่าละลายออกมาจากขวดพลาสติกทั้งในสภาวะอุณหภูมิสูงหรือสภาวะการแช่แข็ง ซึ่งไม่มีหลักฐานทางวิทยาศาสตร์ที่สนับสนุนว่าเกิดขึ้นได้

ความจริงคือขวดพลาสติกขนาดเล็ก ปัจจุบันมีอยู่2ชนิดคือขวดสีขาวขุ่นทำจากพลาสติกชนิด PE (พอลิเอทิลีน) และขวดใสไม่มีสีทำจากพลาสติกชนิด PET (พอลิเอทิลีนเทเรฟทาเลต)ซึ่งนิยมใช้กันมากกว่าขวดแบบขาวขุ่น

สำหรับขวดบรรจุน้ำชนิดเติมซึ่งมีการบรรจุซ้ำจะเป็นขวดความจุประมาณ 20ลิตรมี3 ชนิด คือขวดสีขาวขุ่นทำจากพลาสติก ชนิด PP (พอลิพรอพิลีน) ขวดใส สีฟ้าอ่อน หรือสีเขียวอ่อน ทำจากพลาสติกชนิด PC (พอลิคาร์บอเนต) และขวดพลาสติกชนิด PET พลาสติกเหล่านี้ไม่มีสารคลอรีน เป็นองค์ประกอบที่จะเป็นต้นกำเนิดของไดออกซิน หรือถึงแม้ว่าพลาสติกชนิดอื่น เช่น พอลิไวนิลคลอไรด์ (PVC) มีสารคลอรีนเป็นองค์ประกอบ แต่อุณหภูมิของน้ำในขวดไม่ได้สูงมากพอที่จะท้าให้เกิดสารไดออกซินขึ้นมาได้ อีกทั้งไม่นิยมใช้เพื่อบรรจุน้ำบริโภค

"เพื่อความชัดเจน ห้องปฏิบัติการไดออกซิน สำนักคุณภาพและความปลอดภัยอาหาร ได้ทำการทดลองโดยซื้อตัวอย่างน้ำดื่มที่บรรจุในขวดพลาสติกชนิดพอลิเอทิลีน พอลิเอทิลีนเทเรฟทาเลต พอลิพรอพิลีน พอลิคาร์บอเนต และพอลิไวนิลคลอไรด์ที่จำหน่ายในตลาดสดและซุปเปอร์มาเก็ต จำนวน 18 ยี่ห้อ และนำไปวางในรถที่จอดกลางแดดเป็นเวลา 1 วัน และ 7 วัน จากนั้นตรวจวิเคราะห์สารประกอบกลุ่มไดออกซิน 17 ตัว และพีซีบี 18 ตัว

โดยใช้เทคนิคขั้นสูง Isotope Dilution และวัดปริมาณด้วยเครื่องมือ High Resolution Gas Chromatography/High Resolution Mass Spectrometry ผลการวิเคราะห์สรุปว่า ตรวจไม่พบ สารประกอบกลุ่มไดออกซินและพีซีบีในทุกตัวอย่าง ดังนั้น จึงอยากเตือนผู้บริโภคควรพิจารณาแหล่งของข่าวสารต่างๆ ที่ได้รับจากสื่อสังคมออนไลน์และตรวจสอบที่มาด้วยเพื่อให้ได้ข้อมูลที่ถูกต้องน่าเชื่อถือ" อธิบดีกรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ กล่าว

อนึ่ง สารไดออกซินเป็นผลผลิตทางเคมีที่เกิดขึ้นโดยมิได้ตั้งใจ จากการเผาไหม้ที่ไม่สมบูรณ์ แหล่งกำเนิดสำคัญของสารกลุ่มนี้คือกระบวนการผลิตเคมีภัณฑ์ที่มีสารคลอรีนเป็นองค์ประกอบ เช่น อุตสาหกรรมผลิตเยื่อกระดาษ อุตสาหกรรมผลิตยาฆ่าแมลง เป็นต้น หรือกระบวนการเผาไหม้อุณหภูมิสูงทุกชนิด เช่น เตาเผาขยะทั่วไป เตาเผาขยะจากโรงพยาบาล เตาเผาศพ การเผาไหม้ของเชื้อเพลิง และการใช้ถ่านหินเป็นเชื้อเพลิง เป็นต้น การสร้างกลุ่มสาร ไดออกซินจากการเผาไหม้จะอยู่ในช่วงอุณหภูมิประมาณ 200-550 องศาเซลเซียส และจะเริ่มถูกทำลายเมื่ออุณหภูมิ 850 องศาเซลเซียสขึ้นไป ทำให้มีการปลดปล่อยและสะสมสารกลุ่มนี้ในสิ่งแวดล้อมไม่ว่าจะเป็นทางอากาศ ดิน หรือน้ำ ซึ่งสามารถปนเปื้อนเข้าสู่ห่วงโซ่อาหารของมนุษย์ได้

                                


                                     

พานไหว้ครูสวยๆ

   



                                            

                  



                                          


                   


 

4 ดอกไม้มงคลวันไหว้ครู



วันไหว้ครูเวียนมาอีกปีแล้ว ทำไมส่วนใหญ่ในพานไหว้ครูต้องมีดอกไม้ 4 อย่างได้แก่ ดอกมะเขือ หญ้าแพรก ดอกเข็ม ข้าวตอก ด้วย ดอกไม้เหล่านี้มีความหมายอย่างไร วันนี้สำหรับใครที่ยังไม่รู้ความหมายของดอกไม้ที่กล่าวมาข้างต้น วันนี้จะได้รู้กันเลย


                                       

ดอกมะเขือ เป็นดอกที่โน้มต่ำลงมาเสมอ ไม่ได้เป็นดอกที่ชูขึ้น คนโบราณจึงกำหนดให้เป็นดอกไม้สำหรับไหว้ครู ไม่ว่าจะเป็นครูดนตรี ครูมวย ครูสอนหนังสือ ก็ให้ใช้ดอกมะเขือนี้ เพื่อศิษย์จะได้อ่อนน้อมถ่อมตนพร้อมที่จะเรียนวิชาความรู้ต่างๆ นอกจากนี้มะเขือยังมีเมล็ดมาก ไปงอกงามได้ง่ายในทุกที่ เช่นเดียวกับหญ้าแพรก


                                                     

หญ้าแพรก เป็นหญ้าที่เจริญงอกงาม แพร่กระจายพันธ์ ไปได้อย่างรวดเร็วมาก หญ้าแพรกดอกมะเขือจึงมีความหมายซ่อนเร้นอยู่ คนโบราณจึงถือเอาเป็นเคล็ดว่า ถ้าใช้หญ้าแพรกดอกมะเขือไหว้ครูแล้ว สติปัญญาของเด็กจะเจริญงอกงามเหมือนหญ้าแพรกและ ดอกมะเขือนั่นเอง


                                          

ดอกเข็ม เพราะดอกเข็มนั้นมีปลายแหลม สติปัญญาจะได้แหลมคมเหมือนดอกเข็ม และก็อาจเป็นได้ว่า เกสรดอกเข็มมีรสหวาน การใช้ดอกเข็มไหว้ครู วิชาความรู้จะให้ประโยชน์กับชีวิต ทำให้ชีวิตมีความสดชื่นเหมือนรสหวานของดอกเข็ม


                                           

ข้าวตอก เป็นสัญลักษณ์ของความมีระเบียบวินัย แม้ว่าโดยธรรมชาติแล้วคนเรามักจะมีความซุกซน ความเกียจคร้าน เป็นสมบัติมากบ้าง น้อยบ้างก็ตาม ตาเมื่อเขามีความต้องการศึกษาหาความรู้ เขาก็ต้องรู้จักควบคุมตนเองให้อยู่ในกรอบ ในระเบียบหรือในกฎเกณฑ์ที่สถาบันได้กำหนดไว้ ใครก็ตามหากตามใจตนเอง ไม่สามารถควบคุมตัวเองได้ บุคคลนั้นก็จะเป็นเหมือนข้าวเปลือกที่ถูกคั่ว แต่ไม่มีโอกาสได้เป็นข้าวตอก

การจัดพิธีไหว้ครูเป็นการแสดงความเคารพครูอย่างหนึ่ง ซึ่งในช่วงเดือนมิถุนายนของทุกปี ตามสถาบันการศึกษาต่าง ๆ จะกำหนดจัดพิธีไหว้ครู โดยถือหลักว่า ต้องเป็นวันพฤหัสบดี ส่วนจะเป็นพฤหัสบดีที่เท่าไรของเดือน ก็แล้วแต่ความสะดวกของแต่ละสถาบันไม่มีข้อจำกัด







ส่วนประกอบในไวน์แดงและดาร์กช็อกโกแลต อาจทำให้ความจำดีขึ้น

นักวิทยาศาสตร์เผยผลการวิจัยล่าสุดที่พบว่า ส่วนประกอบที่มีอยู่ในไวน์แดงและดาร์กช็อกโกแลตที่เชื่อว่ามีสารต่อต้านความชราแล้ว อาจจะยังมีผลทำให้ความทรงจำดีขึ้นอีกด้วย


                                       

                 

ผลการวิจัยที่เผยแพร่ในวารสารนูโรไซน์ซ เกี่ยวกับการศึกษาผู้สูงอายุที่มีน้ำหนักเกิน ที่กินสารสกัดจากองุ่นแดง เรสเวอราทรอล ติดต่อกันเป็นเวลา 6 เดือน พบว่า ผู้สูงอายุเหล่านี้มีความทรงจำระยะสั้นที่ดีขึ้นกว่าผู้สูงอายุที่ไม่ได้กินสารสกัดดังกล่าว และผู้ที่กินสารเรสเวอราทรอลเข้าไปยังทำให้สมองในส่วนที่เกี่ยวข้องกับความทรงจำมีการเชื่อมโยงถึงกันมากขึ้น และทำให้ความสามารถที่จะย่อยสลายน้ำตาลในร่างกายดีขึ้นควบคู่กันไปด้วย

เวโรนิกา วิตต์ นักประสาทวิทยา จากมหาวิทยาลัยชาริที เบอร์ลิน ประเทศเยอรมนี ผู้ทำการวิจัยดังกล่าว เปิดเผยว่า การวิจัยนี้เป็นเพียงโครงการนำร่องเล็กๆ ที่ถือว่าเป็นครั้งแรกที่แสดงให้เห็นถึงความเกี่ยวโยงกันระหว่างสารในไวน์แดงกับผลที่เกิดกับผู้สูงอายุที่มีน้ำหนักมาก ซึ่งตามหลักวิชาการแพทย์แล้ว ผลการวิจัยที่พบครั้งนี้บ่งชี้ว่า หากร่างกายของผู้สูงอายุรับสารเรสเวอราทรอลเข้าไปในระดับสูง จะไปช่วยกระตุ้นการปกป้องระบบการรับรู้ของคนๆนั้นได้ ซึ่งเป็นข้อสันนิษฐานที่จะต้องนำไปประเมินผลการในทดลองทางการแพทย์ระดับใหญ่ต่อไป