6 อันดับความน่ากลัวของเพลงชาติ
เพลงชาติ หมายถึงบทเพลงที่ประพันธ์ขึ้น เพื่อปลุกเร้าให้หวนระลึกถึงหรือสรรเสริญประวัติศาสตร์ชาติ
ขนบธรรมเนียมประเพณีของชาติ หรือการต่อสู้ของชนในชาติ โดยได้รับการยอมรับจากรัฐบาลของชาตินั้น
ๆ อย่างเป็นทางการ หรือความตกลงใจร่วมกันของประชาชนในชาติว่า เพลงดังกล่าวเป็นเพลงประจำชาติของตน
อันดับ
6
Algeria - "Qassaman"/"We Pledge"
ประเทศแอลจีเรีย(Algeria)
ประเทศบ้านเกิดของนักฟุตบอลชื่อดังซีดาน ซึ่งครั้งหนึ่งเคยอยู่การปกครองของฝรั่งเศส
ซึ่งคนในประเทศไม่ชอบเท่าไหร่เลยทำสงครามกองโจรต่อต้านฝรั่งเศสอย่างต่อ เนื่อง
จนฝรั่งเศสยอมถอนตัวจากแอลจีเรีย จากนั้นก็มีการปฏิวัติรัฐประหารอยู่บ่อยๆ และประเทศยังมีคงปัญหาเรื่องเชื้อชาติเกิดขึ้นจนถึงปัจจุบัน
ส่วนเนื้อเพลง
" Qassaman " แปลเป็นไทยว่าคำปฏิญาณเขียนใน
1956 โดย Moufdi
Zakaria เป็น เพลงชาติที่ใช้มายาวนาน10
ปี โดยผู้เชี่ยวชาญเพลงในประเทศมาช่วยกันออกความคิดเห็นช่วยกันแต่ง ซึ่งเนื้อหาของเพลงนั้นค่อนข้างออกมารุนแรง
อันดับ 5. Italy - "Il Canto degli
Italiani"/"The Song of the Italians"
ที่ผ่านมาส่วนใหญ่ของเพลงชาติเกี่ยวกับอิตาลี
มักเศร้าระทมจนกระทั้ง “จูเซปเป ฟอร์ตูนีโน ฟรันเชสโก แวร์ดี” (Giuseppe Verdi) เป็นคีตกวีบทเพลงประกอบโอเปรา เป็นชาวอิตาลี
(ค.ศ. 1813 – 1901)ได้แต่งเพลงที่ชื่อ "Il Canto
degli Italiani" แปลเป็นไทยคือ" เราพร้อมเพื่อตาย!" ซึ่งในขณะที่นครมิลาน พ่ายแพ้และถูกจักรวรรดิออสเตรียเข้ายึดครอง
แวร์ดีได้ประพันธ์โอเปร่าเรื่อง “Il Corsaro” ขึ้นเพื่อให้ปลุกใจให้อิตาลีเป็นอิสรภาพจากประเทศออสเตรียในปี
พ.ศ. 2390 และนำมาใช้เป็นเพลงชาติในปี พ.ศ.
2489 และพัฒนาเป็นเพลงชาติในที่สุด
อันดับ 4. Hungary - "Himnusz/Hymn"
แต่งโดย “Kölcsey Ferenc” ประเทศฮังการีนี้เคยเป็นส่วนหนึ่งของจักรวรรดิโรมันอันศักดิ์สิทธิ์
ซึ่งมีประวัติอย่างยาวนานมาตั้งแต่ในตอนศตวรรษที่ 9
และกล่าวจะมาเป็นประเทศฮังการีผ่านการทำสงครามโลก สงครามเย็น สงครามกลางเมืองที่แสนโหดร้าย
ผู้บริสุทธิ์ถูกยิงไม่เว้นวันเพลงสดุดีนี้ถูกแต่งขึ้นเพื่อให้พลเมืองของประเทศทั้งหลายจับอาวุธขึ้น
ต่อสู้ต่อต้านการกดขี่, ละเมิด, หรืออะไรก็ตามที่เป็นภัยคุกคาม
อันดับ
3. Turkey - "stiklal Mar/Independence March"
“stiklal Mar”แปลว่า อิสรภาพ
เขียนโดย “Osman Zeki Üngör” ใช้อย่างเป็นทางการทางการ
12 มีนาคม ค.ศ.1921 เป็นเพลงกระตุ้นสำหรับการต่อสู้ในสงครามของตุรกีเพื่อรับอิสรภาพและเป็นเพลงสดุดีกล้าหาญสำหรับสาธารณรัฐที่ตั้งขึ้นด้วยความรักอิสรภาพ,
ศรัทธา, บรรลุผล, ความหวัง และการอุทิศตัวให้สูงศักดิ์ซึ่งจากประวัติศาสตร์ตุรกีต้องเผชิญการรุกรานของยุโรปและการดูถูกดูแคลน
ดังนั้นพวกเขาจึงได้ใส่เรื่องราวเหล่านั้นเขาไปในเพลงชาติที่แสดงให้เห็นว่าอย่ามาหยามประเทศของตน
อันดับ
2. France - "Le Marseillaise"/"The Song of Marseille"
“ลามาร์แซแยส” (La Marseillaise)
แปลตามตัวว่า เพลงแห่งเมืองมาร์เซย์ เป็นชื่อของเพลงชาติสาธารณรัฐฝรั่งเศสที่ใช้อยู่ในปัจจุบันประพันธ์คำร้องและทำนองโดย
“โคลด โจเซฟ รูเชต์ เดอ ลิสล์”(Claude
- Joseph Rouget) เมื่อวันที่
25 เมษายน ค.ศ.1792 ที่เมืองสตราสบูร์ก
ในแคว้นอัลซาส เดิมเพลงนี้มีชื่อว่า "Chant de guerre de l'Armée du
Rhin" แปลว่า "เพลงมาร์ชกองทัพลุ่มน้ำไรน์" เดอลิสล์ได้อุทิศเพลงนี้ให้แก่นายทหารชาวแคว้นบาวาเรีย
(อยู่ในประเทศเยอรมนีในปัจจุบัน) ซึ่งเกิดในประเทศฝรั่งเศสผู้หนึ่ง คือจอมพลนิโคลาส
ลัคเนอร์ (Nicolas Luckner) เมื่อกองทหารจาก เมืองมาร์เซย์ได้ขับร้องเพลงนี้ขณะเดินแถวทหารเข้ามายังกรุงปารีส
ทำให้เพลงนี้เป็นที่รู้จักโดยทั่วไป และกลายเป็นเพลงปลุกใจในการร่วมปฏิวัติฝรั่งเศส
ทั้งยังเป็นที่มาของชื่อเพลงลามาร์แซแยสดังปรากฏอยู่ในปัจจุบันด้วย
สมัชชา แห่งชาติฝรั่งเศสได้ออกประกาศรับรองให้เพลงลามาร์แซแยสเป็นเพลงชาติฝรั่งเศส
เมื่อวันที่ 14 กรกฎาคม พ.ศ. 2338 ต่อมาเพลงนี้ได้ถูกงดใช้ในช่วงรัชสมัยของจักรพรรดิโปเลียนที่ 1 และพระเจ้าหลุยส์ที่ 18 และมีการนำเพลงอื่นมาใช้เป็นเพลงชาติฝรั่งเศสแทนในระยะเวลาดังกล่าวแทน
หลังการปฏิวัติในปี พ.ศ. 2373 เพลงนี้ก็ได้กลับมาใช้เป็นเพลงชาติในระยะสั้นๆแต่ก็งดใช้อีกครั้งในสมัยของจักรพรรดิโปเลียนที่
3 ตราบจนกระทั่งฝรั่งเศสเข้าสู่สมัยสาธารณรัฐที่ 3 เพลงนี้จึงได้รับการรับรองให้เป็นเพลงชาติอย่างถาวรเมื่อ พ.ศ. 2422
อันดับ 1.
Vietnam - "Tien Quan Ca"/"Army March"
ส่วนมากของเพลงสดุดีอื่นๆ
จะเน้นเรื่องสันติภาพ, ความภูมิใจแห่งชาติ
แต่เพลงสดุดีของประเทศเวียดนามนั้นมันต่างกัน เพราะเน้นเรื่องสงครามทั้งหมด
"Tien
Quan Ca" แปลเป็นไทยคือ "มาร์ช ทหารเวียดนาม"
เป็นเพลงชาติของสาธารณรัฐสังคมนิยมเวียดนาม ประพันธ์โดย “เหงียน
วัน คาว” และใช้เป็นเพลงชาติของสาธารณรัฐประชาธิปไตยเวียดนามใน
พ.ศ. 2488 และนำมาใช้เป็นเพลงชาติของสาธารณรัฐสังคมนิยมเวียดนามหลังจากการรวมประเทศในปี
พ.ศ. 2519